กิจกรรม 22 - 26 พฤศจิกายน 2553


อธิบาย  มิวเทชันหรือ การ กลายพันธุ์หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมและลักษณะที่เปลี่ยนแปลง สามารถจะถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งได้  แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ
1.มิวเทชันระดับโครโมโซม(chromosome mutation)คือการกลายพันธุ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครโมโซม  อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมหรือการเปลี่ยนแปลงจำนวน โครโมโซม
2. มิวเทชันระดับยีน(gene mutation หรือpoint mutation)คือการเปลี่ยนแปลงจากยีนหนึ่งไปเป็นอีกยีนหนึ่งซึ่งป็นผลจากการ เปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ

อธิบาย  พืชดัดแปลงพันธุกรรม คือพืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่จำเพาะเจาะจงตามต้องการ เช่น มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือมีการเพิ่มขึ้นของสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีน ไขมัน เป็นต้น พืชดัดแปลงพันธุกรรมถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจี เอ็ม โอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) ประเภทหนึ่ง

อธิบาย
การโคลนนิ่ง
โคลนนิ่ง (cloning)ภาษาอังกฤษเขียนว่า cloning หมายถึง การผลิตพืชหรือสัตว์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ให้มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ เป็นกระบวนการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัย เพศชนิดหนึ่ง มนุษย์รู้จักโคลนนิ่งมาแต่สมัยโบราณแล้ว แต่เป็นการ รู้จักโคลนนิ่งที่เกิดกับพืช นั่นคือ การขยายพันธุ์พืชโดยไม่อาศัย กระบวนการที่เกี่ยวกับเพศของพืชเลย โคลนนิ่งที่เป็นการขยาย พันธุ์พืชหรือสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศที่เป็นที่รู้จักและเรียกกัน ในภาษาไทยของเราว่า การเพาะชำพืชสำหรับเรื่องการโคลนนิ่ง ของสัตว์และมนุษย์ก็เป็นกระบวนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่นกัน คำว่าโคลน (clone) มาจากคำภาษากรีกว่า “Klone” แปลว่า แขนง กิ่ง ก้าน ซึ่งใช้อธิบายการแบ่งตัวแบบไม่มีเพศ (asexual) ในพืชและสัตว์ การโคลนนิ่ง คือการผลิตสัตว์ให้มีลักษณะทาง กายภาพ (phenotype) และทางพันธุกรรม (genotype) เหมือนกัน (identical twin) โดยไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียมาผสม กัน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “genetic duplication” ดังนั้น การโคลนนิ่งจึงเป็นการทำสิ่งมีชีวิตให้เป็นแฝดเหมือนกัน คือ มีเพศเหมือนกัน สีผิวเหมือนกัน หมู่เลือดเหมือนกัน ตำหนิเหมือนกัน เป็นต้น ซึ่งในทางธรรมชาติ โดยเฉพาะในสัตว์เกิดปรากฏการณ์การเกิดแฝด ขึ้นได้น้อยมาก บางรายงานกล่าวว่าแฝด คู่สอง (twin) มีโอกาสเกิดน้อยกว่า ร้อยละ 1-5 และแฝดคู่สาม คู่สี่ หรือมากกว่า มีรายงานน้อยมาก

อธิบาย ไวรัสคือปรสิตของเซลล์ จึงจะมีชีวิตรอดและสืบพันธุ์ได้ โดยยั้บยั้งการสร้างโปรตีนและสารพันธุกรรมของ        โฮสเซลล์ แล้วอาศัยกรดนิวคลีอิก โปรตีน และชีวโมเลกุลสร้างลูกหลานของมันเอง แล้วจะ Budding (แตกออก) ไปสู่เซลล์อื่นๆ
โครงสร้าง 1. สารพันธุกรรม(กรดนิวคลีอิก)(นิวคลีโอโปรตีน) DNA หรือ RNAใน core particle
                2. เอนเวอร์โลป (เดือย)เป็นไกลโคโปรตีน มีไว้ยึดเกาะเซลล์อื่น(ชั้นสูง)
                3. แคปซิด โปรตีนเล็กมากๆห่อหุ้มสารพันธุกรรมกำหนดรูปร่าง
                4. แมททริค สะสมเอนไซม์(โปรตีนภาย)ในแคปซิดสร้างเอนเวอร์โลป
รูปร่าง       ที่ก่อโรคในคนเป็นรูปหลายเหลี่ยม ที่ก่อโรคในพืชเป็นรูปฮีลิค
จำแนก      ดูที่นิวคลีโอไทด์ ว่า
                 1.เป็น DNA or RNA
                 2.ถ้าทราบชนิดของสารพันธุกรรมแล้ว ดูว่าเป็นวงแหวน/เส้นตรง/ท่อน สายคู่หรือสายเดี่ยว
                 3.ดูการมีเอนเวอร์โลป (ขั้นสูง)
                 4.ความสมมาตรของแคปซิด
                 5.ดูวงชีวิต

อธิบาย

ไฟลัมเฟโอไฟตา (Phylum Phaeophyta)

ได้แก่พวก สาหร่ายสีน้ำตาล
แหล่งที่พบ ในน้ำเค็ม
ลักษณะ
1. สาหร่ายในไฟลัมพีโอไฟตา เรียกโดยทั่วไปว่าสาหร่ายสีน้ำตาล (Brown algae) ทั้งนี้เพราะมีรงควัตถุที่ทำให้เกิดสีน้ำตาล คือ ฟิวโคแซนทีน (Fucoxanthin) อยู่มากกว่าคลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ ซี สาหร่ายสีน้ำตาลมีมากในทะเลตามแถบชายฝั่งที่มีอากาศเย็น มีเพียง 35 จีนัสที่พบในน้ำจืด สาหร่ายสีน้ำตาลมักเรียกชื่อทั่วไปว่า sea weed เพราะเป็นวัชพืชทะเล
2. ผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลสและกรดอัลจินิก (alginic acid) ซึ่งสามารถสกัดสารอัลจิน (algin) มาใช้ประโยชน์ได้
3. รูปร่างและขนาดแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ขนาดเล็กต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จนถึงขนาดใหญ่มองเห็นด้วยตาเปล่า บางชนิดมีรูปร่างเป็นสายยาวแตกกิ่งก้าน เช่น Ectocarpus บางชนิดมีรูปร่างเป็นแผ่นแผ่แบนหรือคล้ายใบไม้โบกไหวอยู่ในน้ำ เช่น Laminaria บางชนิดคล้ายต้นปาล์มขนาดเล็กเรียกว่า Sea palm บางชนิดคล้ายต้นไม้เล็ก ๆ เช่น Sargassum หรือสาหร่ายนุ่น หรือรูปร่างคล้ายพัด เช่น Padina
4. สาหร่ายสีน้ำตาลมีหลายเซลล์ พวกที่มีขนาดใหญ่มากเรียกว่า เคลป์ (Kelp) ซึ่งอาจมีความยาว 60-70 เมตร เช่น Macrocystis , Nereocystis พวกที่มีขนาดใหญ่มักมีลักษณะเหมือนพืชชั้นสูง
5. การสืบพันธุ์ สาหร่ายสีน้ำตาลมีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ โดยมีวงชีวิตแบบสลับ (Alternation of generation) คล้ายกับพืช
ความสำคัญ

1. Laminara ใช้ทำปุ๋ยโปตัสเซียม
2. Laminara และ Kelp สกัดได้จากสารแอลจิน (algin) ทำไอศกรีม พลาสติก สบู่

 อธิบาย
ห่วงโซ่อาหาร (food chain)
        พืชและสัตว์จำเป็นต้องได้รับพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต  โดยพืชจะได้รับพลังงานจากแสง
ของดวงอาทิตย์  โดยใช้รงควัตถุสีเขียวที่เรียกว่า  คลอโรฟิลล์  (chlorophyll)  เป็นตัวดูดกลืนพลังงาน
แสงเพื่อนำมาใช้ ในการสร้างอาหาร  เช่น  กลูโคส  แป้ง  ไขมัน  โปรตีน  เป็นต้น

        พืชจึงเป็นผู้ผลิต (producer)  และเป็นสิ่งมีชีวิตอันดับแรกในการถ่ายทอดพลังงาน
แบบห่วงโซ่อาหาร สำหรับสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่ไม่สามารถสร้าง อาหารเองได้  จำเป็นต้องได้รับพลังงาน
จากการบริโภค สิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร สัตว์จึงถือว่าเป็น ผู้บริโภค (consumer)  ซึ่งแบ่งออกได้เป็นต้น

  • ผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง (primary  consumer)  หมายถึง  สัตว์ที่กินผู้ผลิต
  • ผู้บริโภคลำดับที่สอง  (secondary  consumer )  หมายถึง  สัตว์ที่กินผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง
  • ผู้บริโภคลำดับสูงสุด  (top  consumer)  หมายถึง  สัตว์ที่อยู่ปรายสุดของห่วงโซ่อาหาร
    ซึ่งไม่มีสิ่งมีชีวิตใด มากินต่อ  อาจเรียกว่า  ผู้บริโภคลำดับสุดท้าย
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/26/2/ecology/content/food_chain.html
อธิบาย 
ก๊าซเรือนกระจกในธรรมชาติ ก๊าซเรือนกระจกที่มีอยู่ในบรรยากาศโลกตามธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) และไนตรัสออกไซด์ (N2O) มีคุณสมบัติดูดกลืนความร้อน ทำให้โลกอบอุ่น และเอื้อให้สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ในโลกได้ แต่กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ โดยเฉพาะหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา มีการใช้พลังงานฟอสซิล (fossil fuel) เช่น น้ำมัน ถ่านหิน มาก การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ทำให้ก๊าซเรือนกระจกถูกปลดปล่อยออกสู่บรรยากาศในปริมาณมาก บรรยากาศโลกดูดกลืนความร้อนไว้มากขึ้น เกิดภาวะเรือนกระจก หรือโลกร้อน นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทั่วโลก
ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมด้วยพิธีสารมอนทรีออล
สารสังเคราะห์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น chlorofluorocarbons (CFCs), hydrochlorofluorocarbons (HCFCs), halons, methyl bromide (CH3Br) เป็นต้น ใช้กันแพร่หลายในเครื่องทำความเย็น และอุตสาหกรรมต่างๆ สารเหล่านี้นอกจากทำลายชั้นของโอโซน (Ozone Depleting Substances, ODSs) ที่ห่อหุ้มบรรยากาศโลกซึ่งช่วยกรองแสงอัลตราไวเลต (UV) แล้ว ยังมีค่าศักยภาพในการดูดกลืนความร้อน (Global warming potential, GWP) สูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หลายเท่า เช่น ก๊าซ CFC-12, CFC-114 มีค่า GWP สูงถึง 9,880 และ 10,270 เป็นต้น
ในปัจจุบันสาร CFC เหล่านี้ถูกควบคุมการผลิตโดยพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer) ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างนานาประเทศในการควบคุมการผลิตและการบริโภคสารที่ทำลายชั้นของชั้นโอโซนที่ห่อหุ้มบรรยากาศโลก

ที่มา http://www.ru.ac.th/climate-change/GHG.htm

 อธิบาย

อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)
ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา
   - เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell)
   - ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม
   สิ่งมีชีวิตใรอาณาจักรนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ กล่าวคือ กลุ่มแบคทีเรียทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยอินทรียสารก่อให้เกิดการหมุนเวียนสารอนินทรีย์และอินทรีย์สารต่างๆ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต 2 กลุ่มนี้ยังมีความสำคัญในแง่เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากขึ่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม การแพทย์ และการศึกษาพันธุศาสตร์ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้น
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 2 ไฟลัม คือ
   1. ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta)
   2. ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta)
ที่มา
http://www.snr.ac.th/m4html/w4html/monera.htm
 อธิบาย
การคายน้ำ เป็นการแพร่ของน้ำออกจากใบของพืชโดยผ่านทางปากใบ โดยทั่วไปปากใบปิดเวลากลางคืนและเปิดในเวลากลางวัน การคายน้ำมีความสำคัญต่อพืชในด้านการควบคุมการเคลื่อนที่ของน้ำในพืช ทำให้น้ำเคลื่อนที่จากด้านล่างขึ้นไปด้านบนมากขึ้นเรื่อยๆ ควบคุมการดูดซึมธาตุอาหารของพืช เพราะธาตุอาหารที่พืชนำไปใช้ได้ต้องอยู่ในรูปที่ละลายน้ำ ทำให้อุณหภูมิของใบลดลง โดยลดความร้อนที่เกิดจากแสงแดดที่ใบ ในกรณีที่ในอากาศอิ่มตัวด้วยน้ำ มีความชื้นสูง การคายน้ำเกิดขึ้นได้น้อย แต่การดูดน้ำของรากยังเป็นปกติ พืชจะเสียน้ำในรูปของหยดน้ำเรียกว่ากัตเตชัน (guttation)
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3
อธิบายการออสโมซิสของน้ำในสภาพความเข้มข้นของสารละลายต่าง ๆ

           จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยกระบวนการออสโมซิส
พบว่า เมื่อนำ เซลล์เม็ดเลือดแดงไปใส่ในสารละลายที่มีความเข้มข้นต่างๆ
แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
1. สารละลายไอโซโทนิก (Isotonic solution)
          หมายถึง ความเข้มข้นของสารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงเท่ากับความเข้มข้น
ของสารละลายภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้การออสโมซิสของโมเลกุลของนํ้าเข้าสู่
เซลล์เม็ดเลือดแดง และออกจากเซลล์เม็ดเลือดมีค่าเท่ากัน ทำให้ขนาดของเซลล์ไม่เปลี่ยนแปลง
         สารละลายที่เป็นไอโซทอนิกกับเซลล์เม็ดเลือดแดงคือ น้ำเกลือ 0.85 %
2. สารละลายไฮโพโทนิก (Hypotonic solution)      
        หมายถึง สารละลายภายนอก เซลล์เม็ดเลือดแดงมีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้นํ้าภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง
เป็นผลทำให้ซลล์เม็ดเลือดแดงเต่งขึ้น ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนที่ออกจากเซลล์เหมือนกันแต่
น้อยกว่าเคลื่อนที่เข้าเซลล์ ผลจากการที่น้ำออสโมซิสเข้าเซลล์แล้วทำให้เซลล์เต่ง
เรียกว่า plasmoptysis
        ในเซลล์พืชจะมีผนังเซลล์ที่หนา แข็งแรง ถึงเกิดแรงดันเต่งมาก ๆ ผนังเซลล์ก็ยังต้านทานได้
เรียว่า wall pressure แรงดันเต่งช่วยให้เซลล์พืชรักษารูปร่างได้ดี เช่น ใบกางได้เต็มที่ ยอดตั้งตรง
         ในเซลล์สัตว์์ไม่มีผนังเซลล์ ถ้า้ำน้ำออสโมซิสเข้าไปมากอาจทำให้เซลล์แตกได้ เช่น
เซลล์เม็ดเลือดแดง เรียกปรากฏการณ์ที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกว่า haemolysis
3. สารละลายไฮเพอร์โทนิก (Hypertonic solution)
          หมายถึง สารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดง มีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นผลทำให้น้ำภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสออกนอกเซลล์ เป็นผล
ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเหี่ยวลง ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนเข้าเซลล์เหมือนกันแต่น้อยกว่าออก
ผลจากการที่เซลล์ลดขนาด เหี่ยวลงเนื่องจากเสียน้ำ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า plasmolysis
ที่มา
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/45/2/cell/content/osmosis2.html

2 ความคิดเห็น:

  1. ให้ 80 คะแนน
    ไม่มีเฉลย บางข้อไม่มีที่มา

    ตอบลบ
  2. ให้ 85 คะแนนครับ
    ไม่มีเฉลย เนื้อหาครบดี

    ตอบลบ