กิจกรรม 15 - 19 พฤศจิกายน 2553

อธิบายข้อสอบ:ห่วงโซ่อาหาร (Food Chain)ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเรื่องของการกินต่อกันเป็นทอด ๆ  จาก  ผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานในอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับจากการกินต่อกัน

อธิบายข้อสอบ:ถ้าความเข้มของแสงวีดีน้อยมาก จนทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นน้อยกว่ากระบวนการหายใจ น้ำตาลถูกใช้หมดไป พืชจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความยาวคลื่น (คุณภาพ) ของแสง และช่วงเวลาที่ได้รับ เช่น ถ้าพืชได้รับแสงนานจะมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงดีขึ้น แต่ถ้าพืชได้แสงที่มีความเข้มมากๆ ในเวลานานเกินไป จะทำให้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงชะงัก หรือหยุดลงได้ทั้งนี้เพราะคลอโรฟิลล์ถูกกระตุ้นมากเกินไป ออกซิเจนที่เกิดขึ้นแทนที่จะออกสู่บรรยากาศภายนอก พืชกลับนำไปออกซิไดส์ส่วนประกอบและสารอาหารต่างๆภายในเซลล์ รวมทั้งคลอฟิลล์ทำให้สีของคลอโรฟิลล์จางลง ประสิทธิภาพของคลอโรฟิลล์และเอนไซม์เสื่อมลง ทำให้การสร้างน้ำตาลลดลง

อธิบายข้อสอบ:โอโซนถูกทำลายได้ด้วยสารประกอบ ๓กลุ่มใหญ่ๆ คือ คลอรีน ออกไซด์ของไฮโดรเจนและออกไซด์ของไนโตรเจน

อธิบายข้อสอบ:  ไวรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยคำว่าไวรัสอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พริออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 [1] ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ [2] วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology)

อธิบายข้อสอบ:  เซลล์โดยทั่วไปถึงแม้จะมีขนาด รูปร่าง และหน้าที่แตกต่างกัน แต่ลักษณะพื้นฐานภายในเซลล์มักไม่แตกต่างกัน นักชีววิทยาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนศึกษาเซลล์ของสิ่งมีชีวิตพบว่า ในไซโทพลาซึมมีโครงสร้างขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เฉพาะเรียกว่า ออร์แกเนลล์ (organelle) มีหลายขนาด รูปร่าง จำนวน และหน้าที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ซึ่งจะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
อธิบายข้อสอบ:  สารละลายไฮเปอร์โทนิก ( Hypertonic solution ) สลล. ที่มีความเข้มข้นสูง เมื่อเทียบกับความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์
ดังนั้น ถ้าเซลล์อยู่ในสภาวะที่มีสารละลายไฮเปอร์โทนิกอยู่ล้อมรอบ
เยื่อหุ้มเซลล์จะหดตัวและเหี่ยวแฟบลง เนื่องจากมีการสูญเสียน้ำออกจากเซลล์
เราเรียกขบวนการแพร่ของน้ำออกมาจาก cytoplasm และมีผลทำให้เซลล์มีปริมาตรเล็กลงนี้ว่า
พลาสโมไลซิส ( Plasmolysis )

อธิบายข้อสอบ:  การลําเลียงแบบแอกทีฟทรานสปอร์ต (active  transport)
เป็นการแพร่ของสารโดยใช้โปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์เป็นตัวพา
และใช้พลังงานจาก ATP (adenosine triphosphate) ซึ่งสามารถทําให้อนุภาคของสาร
จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารน้อยแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์สู่บริเวณที่มีความเข้มข้น
ของสารมากกว่าได้

อธิบายข้อสอบ:  โปรตีน ( protein) เป็นสารอินทรีย์ซึ่งพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด มีโครงสร้างซับซ้อนและมีมวลโมเลกุลมาก โปรตีนมีหน่วยย่อยคือ กรดอะมิโน เรียงต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์ โปรตีนมีหน้าที่สำคัญต่อโครงสร้างและกิจกรรมภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งไวรัสด้วย โปรตีนในอาหารนั้นเป็นแหล่งของกรดอะมิโน ให้แก่สิ่งมีชีวิตแต่ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนเหล่านั้นได้เอง
อธิบายข้อสอบ: ปลาทะเลที่เรานิยมรับประทานนั้น เป็นส่วนหนึ่งของปลาอีกหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลอย่างนับไม่ถ้วน แล้วคุณรู้ไหมน้ำทะเลที่มีความเค็มและขมนั้น ประกอบด้วยเกลือถึง 3.5% อาจมีคนตั้งข้อสงสัยว่า ในเมื่อทะเลประกอบด้วยเกลือจำนวนมากเช่นนี้ ปลาที่อาศัยกินอาหารต่างๆในทะเลนั้น ทำไมเนื้อกลับไม่เค็มเลยสักนิด
ผิวหนังปลามีอยู่ด้วยกัน 3 ชั้น ได้แก่
       1.Epidermis ชั้นนี้เป็นชั้นนอกสุด ไม่มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยง มีเฉพาะต่อมเมือกเท่านั้น บางที่เวลาเราจับมาหนัง (ปลาไม่มีเกล็ด) จะพบว่ามือเราจะสัมผัสกับเมือก ลื่นๆ ทำให้จับปลาได้ยากขึ้น เมือกลื่นๆนี้ เป็นสารประกอบพวก Mucin(Glycoprotein และน้ำ)
       2.Dermis ชั้นนี้มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ (Spongiosum) เรียงต่อกัน (Compactum) มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยง เป็นชั้นที่มีเม็ดสี (Chromatophors) และ สร้างเกล็ด (Scales) มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue)
      3.Hypodermis เป็นชั้นเม็ดสีเช่นกัน และมีเซลไขมันอยู่ด้วย (Lipid Cells)
อธิบายข้อสอบ:  แวคิวโอลเป็นช่องๆ ล้อมรอบด้วยเมมเบรนชนิดเยื่อยูนิตชั้นเดียว อยู่ภายในเซลล์ยูแคริโอต (eukaryotic cell) บางชนิด มักพบในเซลล์พืชส่วนใหญ่และสัตว์หลายชนิด โดยแวคิวโอลในสัตว์มักดล็กกว่าในพืช แวคิวโอลซึ่งสามารถทำหน้าที่เป็นที่เก็บ หลั่ง และถ่ายของเหลวภายในเซลล์ แวคิวโอลและสารภายในถือว่าแตกต่างจากไซโตพลาสซึม สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ
- Contractile vacuole จะพบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ในอาณาจักรโพรทิสตา ทำหน้าหน้าทีรักษาสมดุลของน้ำ
- Food vacuole บรรจุอาหาร พบในเซลล์เม็ดลือดขาวบนสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากนี้เราอาจแบ่งได้อีก เช่น Fat vacuole
- Sap vacuole จะเจอในเซลล์พืช ทำหน้าที่สะสมสีไอออน น้ำตาล กรดอะมิโน สะสมผลึกสารพิษในเซลล์
- Gas vacuole สำหรับสะสมแก๊สต่างๆ
อธิบายข้อสอบ:
อธิบายข้อสอบ:
อธิบายข้อสอบ:
อธิบายข้อสอบ:
อธิบายข้อสอบ:
อธิบายข้อสอบ:
อธิบายข้อสอบ:
อธิบายข้อสอบ:
อธิบายข้อสอบ:
อธิบายข้อสอบ:

โปรตีนเป็นหนึ่งในมหโมเลกุล (macromolecules) เช่นเดียวกันกับโพลีแซคาไรด์ (คาร์โบไฮเดรต) และกรดนิวคลีอิก (สารพันธุกรรม) ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โปรตีนถูกค้นพบครั้งแรกโดย Jöns Jacob Berzelius ในปี พ.ศ. 2381 (ค.ศ. 1838)

           เป็นการแพร่ของสารโดยใช้โปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์เป็นตัวพา
และใช้พลังงานจาก ATP (adenosine triphosphate) ซึ่งสามารถทําให้อนุภาคของสาร
จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารน้อยแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์สู่บริเวณที่มีความเข้มข้น
ของสารมากกว่าได้
1. นิวเคลียส (nucleus)
     เป็นโครงสร้างที่มักพบอยู่กลางเซลล์เมื่อย้อมสีจะติดสีเข้มทึบ มีลักษณะเป็นก้อนทึบแสงเด่นชัดอยู่บริเวณกลางๆ เซลล์โดยทั่วๆ ไปจะมี 1 นิวเคลียส เซลล์พารามีเซียม มี 2 นิวเคลียส นิวเคลียสมีความสำคัญเนื่องจากเป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม จึงมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ โดยทำงานร่วมกับไซโทพลาซึม2. ผนังเซลล์ (cell wall)     ผนังเซลล์ พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลากชนิด เช่น เซลล์พืช สาหร่าย แบคทีเรีย และรา ผนังเซลล์ทำหน้าที่ป้องกันและให้ความแข็งแรงแก่เซลล์ โดยที่ผนังเซลล์เป็นส่วนที่ไม่มีชีวิตของเซลล์
3.คลอโรพลาสต์ ( chloroplaast) เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด พลาสติคมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติค จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์ ( chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส ถ้าพลาสติคนั้นไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ ( leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี ( starch grains) เรียกว่า amyloplast

2 ความคิดเห็น:

  1. ให้ 150 คะแนน
    ไม่มีคำตอบ บางข้อไม่มีที่มา
    เนื้อหาน้อย

    ตอบลบ
  2. ให้ 170 คะแนนครับ
    เนื้อหาน้อย

    ตอบลบ